ข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง
ที่ตั้ง
ตำบลท่าช้าง
ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองจันทบุรี
และศาลากลางจังหวัดจันทบุรี
ประมาณ 5 กิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ
จดตำบลแสลง
อำเภอเมืองจันทบุรี
ทิศใต้
จดตำบลบางกะจะ
และตำบลวัดใหม่
อำเภอเมืองจันทบุรี
ทิศตะวันออก
จดแม่น้ำจันทบุรี
และฝั่งตรงข้ามเป็นตำบลจันทนิมิต
อำเภอเมืองจันทบุรี
ทิศตะวันตก
จดตำบลพลอยแหวนและตำบลเขาวัว
อำเภอท่าใหม่
จังหวัดจันทบุรี
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง
ตั้งอยู่เลขที่
40/8 ม.7 ถนนหัวแหลม-ดอนสำโรง
ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี
22000
โทรศัพท์
039-453341 โทรสาร 039-453342
เนื้อที่
พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง
มีจำนวน 19,653 ไร่
ตารางกิโลเมตร)
ภูมิประเทศ
พื้นที่ราบเป็นเนินสูงถึงดอนราบ
โดยมีเขาหินขาวและเนินเขาโป่งลานซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของตำบลทอดยาวทางทิศใต้
เป็นที่ราบลุ่ม
น้ำท่วมขังในฤดูฝน
จำนวนหมู่บ้าน
จำนวนหมู่บ้าน
9 หมู่ (เฉพาะจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขต
อบต.)
จำนวนหมู่บ้านในเขต
อบต.เต็มทั้งหมู่บ้าน 6
หมู่
ได้แก่
หมู่ที่ 1 หมู่บ้าน
คลองน้ำใส
หมู่ที่ 6
หมู่บ้าน หัวแหลม
หมู่ที่ 7
หมู่บ้าน บ้านขอม
หมู่ที่ 10
หมู่บ้าน คลองหลอด
หมู่ที่ 11
หมู่บ้าน คลองมาบตอง
หมู่ที่ 12
หมู่บ้าน คลองน้ำใส
จำนวนหมู่บ้านในเขต
อบต.เต็มบางส่วน 3 หมู่
ได้แก่
หมู่ที่ 2 หมู่บ้าน
ดงชะมูล
หมู่ที่ 5
หมู่บ้าน บ้านแก้ว
หมู่ที่ 8
หมู่บ้าน สนามเป้า
ท้องถิ่นอื่นในตำบล
จำนวนเทศบาล
1 แห่ง คือ
เทศบาลตำบลท่าช้าง
ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น
11,360 คน แยกเป็นชาย 5,410 คน
หญิง 5,950 คน จำนวน 4,710
ครัวเรือน
มีความหนาแน่นเฉลี่ย 361.32
คน / ตารางกิโลเมตร
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ
การทำสวนผลไม้ อาชีพรอง
คือ รับจ้าง ค้าขาย
รับราชการ ฯลฯ
หน่วยธุรกิจในเขต
อบต.
-
ปั้มน้ำมัน 2 แห่ง
- ปั้มก๊าซ 1
แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม
2 แห่ง
ได้แก่ 1.
โรงงานอบยางพาราแผ่น
โรงงานอบไม้ยางพารา
- โชว์รูมรถยนต์
1 แห่ง
- โรงแรม 1
แห่ง
-
ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง 3
แห่ง
- เต้นท์จำหน่ายรถยนต์มือสอง
4 แห่ง
- ตลาดนัด 2
แห่ง
สภาพทางสังคม
การศึกษา
-
โรงเรียนประถมศึกษา 1
แห่ง
คือ
โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 10
-
โรงเรียนการศึกษาพิเศษ 1
แห่ง
คือ
โรงเรียนการศึกษาพิเศษ (สอนผู้พิการ)ตั้งอยู่ที่
หมู่ที่ 7
-
โรงเรียนมัธยมศึกษา (เอกชน)
1 แห่ง
คือ
โรงเรียนอำนวยวิทย์พัฒน์
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 11
- โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง
1 แห่ง
คือ
สถาบันราชภัฎรำไพพรรณี
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5
-
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน
6 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด 4 แห่ง
1.
วัดทุ่งรี หมู่ที่ 7
2.
วัดคลองน้ำใส หมู่ที่ 10
3.
วัดบ้านขอม หมู่ที่ 7
4.
วัดคลองทราย หมู่ที่ 2
- มัสยิด 1
แห่ง หมู่ที่ 7
สาธารณสุข
-
สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน
1 แห่ง
-
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน 6
แห่ง
-
สถานพยาบาลเอกชน (คลินิก) 2
แห่ง
-
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 2
แห่ง
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ
ร้อยละ 100
การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด
มีถนน 3 สาย
เป็นถนนลาดยางสามารถสัญจรไปมาได้สะดวก
มีรถโดยสารประจำทางผ่าน
2 สาย คือ สายจันทบุรี
นายายอาม ผ่าน หมู่ที่ 5
และหมู่ที่ 2 สายจันทบุรี
วังแซ้ม ผ่าน หมู่ที่ 6
และหมู่ที่ 7
การไฟฟ้า
มีครบทุกหมู่บ้านที่มีไฟฟ้าเข้าถึง
และจำนวน 4,650
ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ,
ลำห้วย 6 สาย
- บึง,
หนองและอื่น ๆ 8 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝายน้ำล้น
3 แห่ง
-
บ่อน้ำตื้น 1,058 แห่ง
- บ่อโยก 5
แห่ง
-
บ่อใช้เครื่องสูบไฟฟ้า 1
แห่ง
ข้อมูลอื่น
ๆ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
หนองน้ำขาว
เนื้อที่ประมาณ 180 ไร่
อยู่ในเขตพื้นที่
หมู่ที่ 7
บึงบ้านขอม
600 ไร่ อยู่ในเขตพื้นที่
หมู่ที่ 5,7
มวลชนจัดตั้ง
-
ลูกเสือชาวบ้าน 4 รุ่น
จำนวน 495 คน
-
ไทยอาสาป้องกันชาติ 3
รุ่น จำนวน 424 คน
-
กองหนุนเพื่อความมั่นคง 1
รุ่น จำนวน 200 คน
-
กลุ่มสตรีอาสาพัฒนาตำบลท่าช้าง
จำนวน 100 คน
-
ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
จำนวน 12 คน
ศักยภาพในตำบล
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
จำนวนบุคลากร
จำนวน 32 คน
ตำแหน่งในสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
20 คน
-
พนักงานส่วนตำบล 2 คน
-
ลูกจ้างชั่วคราว 18 คน
ตำแหน่งในส่วนการคลัง
7 คน
-
พนักงานส่วนตำบล 1 คน
-
ลูกจ้างประจำ 1 คน
-
ลูกจ้างชั่วคราว 5 คน
ตำแหน่งในส่วนโยธา
5 คน
-
พนักงานส่วนตำบล 1 คน
-
ลูกจ้างประจำ 1 คน
-
ลูกจ้างชั่วคราว 3 คน
ระดับการศึกษาของบุคลากร
ประถมศึกษา
11 คน
มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา
13 คน
ปริญญาตรี 8
คน
รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2546 จำนวน 14,470,629.38 บาท
(ไม่รวมเงินโครงการถ่ายโอนฯ)
แยกเป็น
รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง
1,059,418.63 บาท
รายได้ที่ส่วนราชการต่าง
ๆ จัดเก็บให้ 11,999,363.39 บาท
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
1,411,847.36 บาท
เงินโครงการถ่ายโอนบริการสาธารณะ
501,575.- บาท
เงินอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดจันทบุรี
- บาท
ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
การรวมกลุ่มของประชาชน
อำนวยกลุ่มทุกประเภท
14 กลุ่ม
แยกประเภทกลุ่ม
กลุ่มอาชีพ
หมู่ที่ 1 1.
กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์
กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
หมู่ที่ 2 1.
กลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนเพื่อการส่งออก
หมู่ที่ 6 1.
กลุ่มแรงงานสัมพันธ์
กลุ่มชุมชนเลี้ยงชีพ
หมู่ที่ 7 1.
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอัญมณี
หมู่ที่ 8 1.
กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
หมู่ที่ 10 1.
กลุ่มแม่บ้านเจริญสุทธิวารี
กลุ่มเกษตรกรบ้านคลองหลอด
กลุ่มออมทรัพย์ฯ
มี 1 กลุ่ม
หมู่ที่ 7 สมาชิก 73 คน
กลุ่มอื่น
ๆ 2 กลุ่ม
1.
กลุ่มสตรีอาสาพัฒนาตำบลท่าช้าง
จำนวน 100 คน
กลุ่ม อสม.
จุดเด่นของพื้นที่
พื้นที่ตำบลท่าช้าง
อยู่ติดกับตัวเมืองการคมนาคมและการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้โดยสะดวก
รวดเร็ว
มีเส้นทางการคมนาคมหลักและเส้นทางลัดหลายเส้นทางซึ่งสามารถใช้เป็นเส้นทางขนถ่ายสินค้าและติดต่อธุรกิจ
นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจและการค้า
มีหมู่บ้านจัดสรรและโรงงาน
ซึ่งเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพทั้งการรับจ้างและการค้าขาย
ผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง
มีผลการพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่าง
ๆ ที่ผ่านมาดังนี้
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ก่อสร้าง /
ปรับปรุง / ซ่อมแซม ถนน คสล.
ถนนลาดยาง
ก่อสร้าง /
ปรับปรุง / ซ่อมแซม สะพาน
คสล. สะพานไม้
ก่อสร้าง /
ปรับปรุง / ซ่อมแซม
ท่อระบายน้ำ
ท่อหลอดเหลี่ยม
รางระบายน้ำ
ก่อสร้างขยายผิวจราจร,
ทางเท้า คสล.
พร้อมท่อระบายน้ำ
ขุดลอกคลอง
หนอง บึง สระน้ำ
ก่อสร้างป้ายสัญญาณจราจร
ป้ายบอกทางต่าง ๆ
ป้ายชื่อซอย
ด้านสาธารณูปโภค
สาธารณูปการ
ขยายเขตระบบไฟฟ้าสาธารณะรวมถึงติดตั้งและบำรุงรักษา
ขยายเขตระบบประปาส่วนภูมิภาค
ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน
ขุดเจาะบ่อบาดาล
ประสานการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะ
ด้านการศึกษา
สนับสนุนวัสดุอาหารเสริม
(นม) ให้แก่นักเรียน
สนับสนุนอาหารกลางวัน
เด็กนักเรียน
อุดหนุนเป็นทุนการศึกษา
ด้านสาธารณสุข
อุดหนุนโครงการสุขภาพอนามัยต่าง
ๆ
ดำเนินการป้องกันและระงับโรคติดต่อต่าง
ๆ
ด้านสังคมสงเคราะห์
สงเคราะห์เด็ก
สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ
จ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุ
ผู้พิการ
ด้านกีฬา
นันทนาการ การท่องเที่ยว
จัดสร้างสนามกีฬาเอนกประสงค์
รวมถึงจัดอุปกรณ์กีฬาทุกหมู่บ้าน
โครงการแข่งขันกีฬาต่าง
ๆ
จัดสร้างสวนสาธารณะ
สวนพักผ่อน
ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด
ด้านการพัฒนาอาชีพ
สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง
ๆ รวมถึงจัดหาวัสดุ
อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ต่าง ๆ
และแหล่งเรียนรู้
สนับสนุนสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
สนับสนุนการจัดฝึกอบรม
เพื่อเพิ่มความรู้
ความสามารถแก่กลุ่มอาชีพต่าง
ๆ
ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
จัดหาครุภัณฑ์
พร้อมเจ้าหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
อุดหนุนให้แก่
อปพร.
ในการออกตรวจพื้นที่
ด้านการศาสนา
วัฒนธรรม จารีตประเพณี
และภูมิปัญญาท้องถิ่น
อุดหนุนแก่ศาสนาทุกศาสนา
ส่งเสริมประเพณีท้องถิ่นทุกหมู่บ้าน
สนับสนุนการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมสนับสนุน
อนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่คู่ท้องถิ่นต่อไป
รณรงค์ให้ประชาชนรู้จักอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รักษาความสะอาดของชุมชนโดยจัดเก็บขยะมูลฝอยและนำไปทำลายตามสุขลักษณะ
<Top> |